logo

แร้งคอดำ ว่านแร้งคอดำ, ว่านคอแดง (กรุงเทพฯ), ว่านแร้งคอคำ (ภาคกลาง), ว่านคอแดง (ภาคใต้) จัดอยู่ในวงศ์พลับพลึง เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะหัวกลมคล้ายหอมหัวใหญ่ ใบมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานยาวเรียว ขอบใบเป็นคลื่นบาง มีความยาวประมาณ 60-90 ซม. กว้างประมาณ 7-10 ซม. ดอกออกเป็นช่อ เป็นกระจุกประมาณ 10-20 ดอก ตรงปลายช่อ ดอกตูมมีลักษณะเป็นรูปหอกมีกาบหุ้มยาวประมาณ 7-10 ซม. อยู่บนก้านดอกสั้นๆ ก้านดอกอวบหนามีความยาวประมาณ 60-90 ซม. กลีบดอกแยกเป็น 6 กลีบ และมีความกว้างกว่าดอกพลับพลึง เป็นสีขาว หรือแต้มด้วยสีแดงตรงกลาง หรือทางด้านหลังของกลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอู่ 6 อัน และมีอับเรณูเป็นรูปโค้ง

ว่านแร้งคอดำ เป็นว่านคงกระพันชาตรี ใช้หัวพกติดตัวหรือกินหัวว่านก็ได้ สรรพคุณทางยาใช้หัวฝนทารักษาอาการเคล็ด ขัดยอก บวม หรือจะใช้หัวดองกับเหล้ากินเป็นยาชักมดลูก เหมาะสำหรับผู้หญิงที่คลอดลูกใหม่ๆ รักษาโรคเกี่ยวกับอาการปวดในข้อ รักษาโรคริดสีดวงทวาร และฝี ส่วนน้ำที่ได้จากใบใช้รักษาอาการปวดหู

ดอกว่านแร้งคอดำ ช่อดอกออกจากซอกใบเป็นช่อซี่ร่ม ชูตั้ง ยาว 30 – 40 เซนติเมตร มี 8 – 10 ดอกกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยแคบ กลีบรวม 6 กลีบ สีส้ม เกสรเพศผู้ 6 อันยื่นยาวและโค้งขึ้น ดอกมหาลาภ จะออกดอกปีละครั้งเท่านั้น ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม อาจจะเลยไปถึงต้นเมษายน

การปลูกว่านแร้งคอดำ ชอบดินร่วนปนทราย ที่ระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นสม่ำเสมอ ควรอยู่ที่แดดรำไร ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

 

Copyrigcht © 2024 บ้านเกิด...เมืองนอน